km

km
พัฒนาชุมชนสมุทรปราการ ดำเนินงาน KM

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่อง เทคนิคการพื้นฟูและพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนเชิงคุณภาพ


เจ้าของความรู้ นางสาวสุนันทา จำปา
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนไม่มีกิจกรรมหรือการขับเคลื่อนในชุมชน
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2545
สถานที่เกิดเหตุการณ์ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อปีงบประมาณ 2551- 2552 กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอส่งเสริมให้มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนระดับอำเภอ ซึ่งในขณะนั้น ข้าพเจ้าเป็นพัฒนากรอยู่ที่อำเภอบางพลี และพัฒนาการอำเภอได้มอบหมายให้ไปศึกษาข้อมูลและหาความรู้เกี่ยวกับศูนย์เรียนรู้ชุมชน ซึ่งจริง ๆ แล้วศูนย์เรียนรู้ชุมชนไม่ใช่เรื่องใหม่ของพัฒนาชุมชน แต่ด้วยความที่เพิ่งจะมาเป็นพัฒนากร จึงทำให้เป็นเรื่องใหม่ของข้าพเจ้า และเมื่อพัฒนาการอำเภอมอบหมาย เราซึ่งเป็นพัฒนากรก็ต้องทำให้ดีที่สุด หลังจากนั้นข้าพเจ้าจึงได้ศึกษาข้อหาข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ชุมชน และสำรวจว่าในระดับอำเภอนั้นมีศูนย์เรียนรู้ชุมชนไหนบ้าง ที่ดำเนินการอยู่หรือเลิกดำเนินการแล้ว หรือมีแหล่งเรียนรู้ในชุมชนใดที่พอจะพื้นฟูให้เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนในระดับอำเภอได้บ้าง เมื่อเริ่มดำเนินการพัฒนาการอำเภอก็ได้ช่วยสนับสนุนและกำหนดให้ตำบลที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบเป็นจุดฟื้นฟูศูนย์เรียนรู้เชิงคุณภาพ โดยมอบหมายให้ข้าพเจ้าไปพูดคุยกับผู้นำชุมชนเกี่ยวกับการฟื้นฟูศูนย์เรียนรู้ชุมชน ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ ซึ่งในขณะนั้นศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกนั้นเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านบางพลี ซึ่งมีกิจกรรมของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว โดยใช้เป็นสถานที่เรียนเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นสถานที่ของเอกชน ข้าพเจ้าและพัฒนาการอำเภอพร้อมทั้งทีมงานพัฒนาชุมชนจึงได้เข้าไปร่วมกันขายความคิด และมีการประชุมประชาคมเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นของผู้นำชุมชนเกี่ยวกับการพื้นฟูและส่งเสริมให้ศูนย์เรียนรู้ดังกล่าว เป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีชีวิตขึ้นมา จากการที่เข้าไปประชุมและร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นหลายต่อหลายครั้งในชุมชน ก็ได้เห็นถึงความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน และความสามัคคีของคนในชุมชน และข้าพเจ้าได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกับชุมชนวางแผนการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนของหมู่บ้านอย่างจริงจัง ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจและเกาะติดพูดคุย ชักชวนชาวบ้านในการฟื้นศูนย์เรียนรู้ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งจึงบรรลุผล ชาวบ้านโดยแกนนำที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ออกเดินหน้าในการปรับปรุงศูนย์ใหม่ จัดระเบียบ สื่อ อุปกรณ์และที่สำคัญการชักชวนให้คนในชุมชนเข้ามาใช้ประโยชน์ในศูนย์ฯ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใดๆในหมู่บ้านก็จะนัดหมายมาที่นี่ ทำให้ศูนย์เรียนรู้นี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ซึ่งเป็นเพราะความร่วมมือของคนในชุมชนโดยแท้
ไม่นานจากนั้นศูนย์เรียนรู้นี้จึงเป็นที่พบปะ พูดคุยร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาดูงาน เป็นแหล่งต้อนรับแขกของชุมชน ข้าพเจ้าภาคภูมิใจมากที่เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ศูนย์เรียนรู้มีชีวิต มีกิจกรรมมากขึ้น
ขุมความรู้1) ศึกษาหาข้อมูลอย่างจริงจัง 2) มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำงาน 3) ร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น 4) เสนอแนะโครงการ/กิจกรรมแก่ในเวทีประชาคม
5) ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ 6) ร่วมประชุมปรึกษาหารือกับผู้นำชุมชนและคนในชุมชน 7) เป็นที่ปรึกษาให้ชุมชนได้
แก่นความรู้ 1)ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม 2)มุ่งมั่นตั้งใจ 3)ปฏิบัติจริง
4) มีส่วนร่วม

กลยุทธ์ ชี้ประโยชน์ เกาะติด มีส่วนร่วม
แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
หลักการพัฒนาชุมชน /แนวทางการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น