เจ้าของความรู้ นางฉันทนา จรัลชวนะเพท
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน
แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ ความยากจน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2548
สถานที่เกิดเหตุการณ์ จังหวัดสมุทรปราการ
กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการให้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตั้งแต่ปี 2517 วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน / ชุมชน ได้รู้จักการออมและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยยึดคุณธรรม 5 ประการ คือ 1. ซื่อสัตย์ 2. เสียสละ 3. รับผิดชอบ 4.มีความไว้วางใจ และ 5. มีความเห็นอกเห็นใจ
ในปี พ.ศ. 2548 ข้าพเจ้าได้ขอไปปฏิบัติหน้าที่พัฒนากรที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบประสานงานตำบลบางกอบัวและตำบลบางกะเจ้า ซึ่งทั้ง 2 ตำบล มีผู้นำท้องถิ่น ผู้นำองค์กรชุมชนเข้าแข็งมาก และสภาพภูมิประเทศจะเป็นเขตเมือง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ถ้าเราทำงานพัฒนาชุมชนในเขตเมืองจะมีความรู้สึกว่าทำงานยาก แต่ข้าพเจ้าโชคดีที่มีผู้นำชุมชนกลุ่ม องค์กร ที่ได้การสนับสนุนในการดำเนินงาน และจากการสำรวจข้อมูลของหมู่บ้านของทั้ง 2 ตำบล ยังไม่มีการดำเนินงานจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จึงได้พูดคุยกับกลุ่มองค์กร ผู้นำชุมชน หรือสอดแทรกเรื่องการออมทรัพย์ฯ ทุกครั้งในการประชุมหรือการจัดกิจกรรมของหมู่บ้าน โดยแรก ๆ ก็ยังมีท่าทีหรือไม่อยากดำเนินการ เพราะบางคนก็เป็นสมาชิกของกลุ่มออมทรัพย์ฯ ของตำบลบางน้ำผึ้งและตำบลใกล้เคียงแล้วหรือตำบลบางกะเจ้าก็เคยมีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ฯ แต่ต้องยกเลิกไป(สาเหตุอะไรจะไม่กล่าวถึง) ข้าพเจ้าก็คิดว่าจะทำอย่างไรดี จะได้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ฯ ได้ ทั้งเป็นงานนโยบายที่ต้องทำและเป็นการส่งเสริมให้หมู่บ้าน / ตำบล ได้รู้จักการออม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งตามเกณฑ์การประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และเป็นการฝึกการออมให้เป็นนิสัยเพื่อเป็นทางเลือกในการออมไว้ให้ลูกหลานหรือนำไปใช้เป็นทุนประกอบอาชีพต่อไป
“ความยากจนอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” คตินี้ยังใช้ได้ผลอยู่เพราะข้าพเจ้าได้พยายามที่จะพูดคุยและจัดให้มีการประชุมผู้นำชุมชนและชาวบ้านที่สนใจอยู่หลายครั้ง ทั้งที่ต้องเสียสละวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ในการประชุม(การประชุมเราจะไม่ชี้นำว่าต้องจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้ได้ ให้เป็นผลความต้องการของเขาเท่านั้น) ในที่สุดทั้ง 2 ตำบลก็มีความเห็นพ้องกันว่าจะจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของตำบลเพราะอยากให้มีการดำเนินงานและประสบผลสำเร็จเหมือนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของตำบลอื่นที่เขาประสบผลสำเร็จในการบริหารงานจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันกลุ่มออมทรัพย์ฯ ตำบลบางกอบัวและตำบลบางกะเจ้าได้ดำเนินการมาแล้ว 3 ปี ข้าพเจ้าก็รู้สึกดี ๆ กับการได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานในครั้งนี้และก็หวังว่ากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของทั้ง 2 กลุ่ม จะได้รับการพัฒนาจนไปถึงการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนต่อไป
ขุมความรู้
1. ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2. ยึดแนวทางการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของกรมการพัฒนาชุมชน
3. พูดคุยกับกลุ่มองค์กร ผู้นำชุมชน หรือสอดแทรกเรื่องการออมทรัพย์ฯ ทุกครั้ง
4. พยายามที่จะพูดคุยและจัดให้มีการประชุมผู้นำชุมชนและชาวบ้านที่สนใจ
5. เสียสละวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ในการประชุม
แก่นความรู้
1. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง
2. ให้ชาวบ้านเป็นผู้ตัดสินใจในการดำเนินงาน
3. ยึดแนวทางการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของกรมการพัฒนาชุมชน
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
· ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
· แนวทางการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของกรมการพัฒนาชุมชน
· เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
กลยุทธ์ ศึกษา ยึดแนวทางกรมฯ ชี้แจง สอดแทรกและกระตุ้นให้คิด
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน
แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ ความยากจน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2548
สถานที่เกิดเหตุการณ์ จังหวัดสมุทรปราการ
กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินการให้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตั้งแต่ปี 2517 วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน / ชุมชน ได้รู้จักการออมและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยยึดคุณธรรม 5 ประการ คือ 1. ซื่อสัตย์ 2. เสียสละ 3. รับผิดชอบ 4.มีความไว้วางใจ และ 5. มีความเห็นอกเห็นใจ
ในปี พ.ศ. 2548 ข้าพเจ้าได้ขอไปปฏิบัติหน้าที่พัฒนากรที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบประสานงานตำบลบางกอบัวและตำบลบางกะเจ้า ซึ่งทั้ง 2 ตำบล มีผู้นำท้องถิ่น ผู้นำองค์กรชุมชนเข้าแข็งมาก และสภาพภูมิประเทศจะเป็นเขตเมือง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ถ้าเราทำงานพัฒนาชุมชนในเขตเมืองจะมีความรู้สึกว่าทำงานยาก แต่ข้าพเจ้าโชคดีที่มีผู้นำชุมชนกลุ่ม องค์กร ที่ได้การสนับสนุนในการดำเนินงาน และจากการสำรวจข้อมูลของหมู่บ้านของทั้ง 2 ตำบล ยังไม่มีการดำเนินงานจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จึงได้พูดคุยกับกลุ่มองค์กร ผู้นำชุมชน หรือสอดแทรกเรื่องการออมทรัพย์ฯ ทุกครั้งในการประชุมหรือการจัดกิจกรรมของหมู่บ้าน โดยแรก ๆ ก็ยังมีท่าทีหรือไม่อยากดำเนินการ เพราะบางคนก็เป็นสมาชิกของกลุ่มออมทรัพย์ฯ ของตำบลบางน้ำผึ้งและตำบลใกล้เคียงแล้วหรือตำบลบางกะเจ้าก็เคยมีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ฯ แต่ต้องยกเลิกไป(สาเหตุอะไรจะไม่กล่าวถึง) ข้าพเจ้าก็คิดว่าจะทำอย่างไรดี จะได้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ฯ ได้ ทั้งเป็นงานนโยบายที่ต้องทำและเป็นการส่งเสริมให้หมู่บ้าน / ตำบล ได้รู้จักการออม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งตามเกณฑ์การประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และเป็นการฝึกการออมให้เป็นนิสัยเพื่อเป็นทางเลือกในการออมไว้ให้ลูกหลานหรือนำไปใช้เป็นทุนประกอบอาชีพต่อไป
“ความยากจนอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” คตินี้ยังใช้ได้ผลอยู่เพราะข้าพเจ้าได้พยายามที่จะพูดคุยและจัดให้มีการประชุมผู้นำชุมชนและชาวบ้านที่สนใจอยู่หลายครั้ง ทั้งที่ต้องเสียสละวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ในการประชุม(การประชุมเราจะไม่ชี้นำว่าต้องจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้ได้ ให้เป็นผลความต้องการของเขาเท่านั้น) ในที่สุดทั้ง 2 ตำบลก็มีความเห็นพ้องกันว่าจะจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของตำบลเพราะอยากให้มีการดำเนินงานและประสบผลสำเร็จเหมือนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของตำบลอื่นที่เขาประสบผลสำเร็จในการบริหารงานจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันกลุ่มออมทรัพย์ฯ ตำบลบางกอบัวและตำบลบางกะเจ้าได้ดำเนินการมาแล้ว 3 ปี ข้าพเจ้าก็รู้สึกดี ๆ กับการได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานในครั้งนี้และก็หวังว่ากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของทั้ง 2 กลุ่ม จะได้รับการพัฒนาจนไปถึงการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนต่อไป
ขุมความรู้
1. ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2. ยึดแนวทางการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของกรมการพัฒนาชุมชน
3. พูดคุยกับกลุ่มองค์กร ผู้นำชุมชน หรือสอดแทรกเรื่องการออมทรัพย์ฯ ทุกครั้ง
4. พยายามที่จะพูดคุยและจัดให้มีการประชุมผู้นำชุมชนและชาวบ้านที่สนใจ
5. เสียสละวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ในการประชุม
แก่นความรู้
1. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง
2. ให้ชาวบ้านเป็นผู้ตัดสินใจในการดำเนินงาน
3. ยึดแนวทางการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของกรมการพัฒนาชุมชน
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
· ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
· แนวทางการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของกรมการพัฒนาชุมชน
· เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
กลยุทธ์ ศึกษา ยึดแนวทางกรมฯ ชี้แจง สอดแทรกและกระตุ้นให้คิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น