km

km
พัฒนาชุมชนสมุทรปราการ ดำเนินงาน KM

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การบริหารจัดการองค์ความรู้กับสถานการณ์ขององค์กรและการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคล



ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การส่งเสริมการจัดการความรู้ในองค์กร มิได้หมายความถึงเพียงการจัดทำเอกสารคู่มือการทำงาน ซึ่งรวบรวมจากองค์ความรู้ของบุคลากรในองค์กรเท่านั้น หากแต่ปรับเปลี่ยนไปสู่แนวทางการดำเนินการในเชิงกลยุทธ์ ที่จะสร้างกระบวนการรวบรวมและจัดการองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร ทั้งทางด้านเทคนิควิชาชีพในการปฏิบัติงานต่างๆ การบริหารจัดการเครือข่ายในการปฏิบัติงาน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ข้อผิดพลาดเพื่อการเรียนรู้ รวมทั้งการนำมาใช้ในการปฏิบัติงานประจำวัน การพัฒนางาน โครงการ ตลอดจนการกำเนินการงานต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิผลของการตัดสินใจในองค์กรเพื่อสร้างนวัตกรรม ดังนั้น การจัดการความรู้ในองค์กรจีงมีเป้าหมายสำคัญ 2 ประการ คือ (1) เพื่อนธำรงรักษาไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะและค่านิยม ซึ่งก็คือขีดความสามารถและความทรงจำขององค์กร (Institutional Capability and memory) และ (2) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อันจะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมในการทำงาน ซึ่งส่งผลให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินการและบริหารจัดการในทุกระดับขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ในองค์กรปัจจุบันกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงบุคลากรในองค์กรมีอายุงานและวัยที่ใกล้เกษียนมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นปัญหาให้องค์กรต้องประสบคือการขาดความต่อเนื่องในการบริหารงานอันสืบเนื่องมาจากการขาดการวางแผนจัดการพัฒนาองค์ความรู้ภายในองค์กร อย่างป็นระบบและต่อเนื่อง ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการการเปลี่ยนแปลงขององค์กร รวมถึงปัจจัยภายนอกที่มากระทบ ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องวางระบบการบริหารองค์ความรู้เชิงกลยุทธ์ ครอบคลุมทั้ง กระบวนการ เทคนิควิธี และเครื่องมือเพื่อเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ ความท้าทาย และระบบการบริหารงานต่างๆขององค์กร ในลักษณะการบูรณาการมากยิ่งขึ้น(สำนักงาน ก.พ. 2552: 37)

1 ความคิดเห็น: