km

km
พัฒนาชุมชนสมุทรปราการ ดำเนินงาน KM

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่อง เทคนิคการปฏิบัติงานเรื่องศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนให้เข้มแข็ง


เจ้าของความรู้ นางอรษา เศวตจามร
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ การบริหารงาน แก้ปัญหากระบวนการทำงาน ศอช.ต.

ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลบางด้วน ทำหน้าที่ในการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่าง ผู้นำ – กลุ่ม –องค์กร เช่น ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ - กองทุนสวัสดิการชุมชน – กองทุนหมู่บ้าน – กลุ่มผลิตฯ อาสาสมัครสาธารณสุข – กรรมการหมู่บ้าน (กม.) สมาชิกสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรอื่นๆ นอกพื้นที่ ตำบล – อำเภอ อื่นๆ ประสานสัมพันธ์กับภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดพลังชุมชนที่เข้มแข็ง พึงพาตนเองอย่างมั่นคง บูรณาการกิจกรรม การพัฒนาไปตามบริบทของหมู่บ้าน – ตำบล – ชุมชน โดยให้มีส่วนราชการ - รัฐวิสาหกิจ – องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้การส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินการอย่างเหมาะสม
ภารกิจ การแก้ปัญหา เป็นกระบวนการมีส่วนร่วมและสะท้อนปัญหา ไปสู่หน่วยงาน– หรือองค์กรภาคอื่น ๆ
ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนได้อย่างลงตัว ดำเนินกิจกรรมด้วยความราบรื่น – รวดเร็ว
ช่วยเหลือสนับสนุนการทำงานของผู้นำกลุ่มองค์กร
ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน ตำบลบางด้วน ดำเนินการจัดประชุมประชาคมโดยพัฒนากร ท่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ดำเนินการเลือกสรรประชาชน เข้ามาเป็น คณะทำงานได้ 15 คน และเริ่มดำเนินการจัดประชุม ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 เป็นการจัดทำแผนพัฒนา –จัดทำโครงการปัญหายาเสพติด – สิ่งแวดล้อม - ปัญหาความยากจน – จัดทำกิจกรรมรายได้สนับสนุน
และต่อมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2551 ได้จัดการประชุมร่วม ระหว่าง ศอช.ต. ผู้นำชุมชน - กลุ่มออมทรัพย์ – ฌาปณกิจสงเคราะห์ กองทุนสวัสดิการชุมชน สมาชิกสภาตำบล ผู้นำ อช. – กองทุนหมู่บ้าน – สตรี - กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน เข้าร่วมประชุม เพื่อร่างระเบียบ – ข้อบังคับ ของ ศอช. ต. โดยเรียนเชิญท่านวิทม สมใจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วนเป็นประธานเปิดการประชุมแต่ท่านติดภารกิจ ได้มอบหมายภารกิจให้ท่านชาญชัย ชาติทองคำ ประธานสภาตำบลบางด้วนมาเป็นประธานเปิดการประชุมแทน และประธาน ศอช.ต. ได้รายงานผลการดำเนินงานให้ทราบ จากที่ได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติด – จัดอบรมมัคคุเทศน้อย จัดตั้งเสียงตามสาย – จัดทำผู้สูงอายุไปศึกษาแสวงบุญไหว้พระ 9 วัด สิงห์บุรี – อ่างทอง – อยุธยา –ซื้อคอมพิวเตอร์ – เครื่องถ่ายเอกสารบริการประชาชนราคาถูก ตั้งมูลค่างบประมาณเสนอกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า จำนวนเงิน 270,000.-บาท และได้รับการอนุมัติและดำเนินการเป็นที่เรียบร้อย 1 โครงการ
การพัฒนาผู้นำ
คณะกรรมการของศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลบางด้วน ได้มาจากการประชุมประชาคม ผู้นำชุมชนทุกองค์กรทุกหมู่บ้าน จากผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 108 คน
กาติดต่อสื่อสารกับหน่วยงาน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จากความร่วมมือ ก่อให้เกิดการบริการดีรวดเร็ว รวมถึง
การประสานแผนความร่วมมือในทุกกิจกรรม – ที่จะของบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ ได้ดีมาก
การพัฒนาด้านความร่วมมือของเครือข่ายภายในตำบลคือการประสานความร่วมมือระหว่างสมาคมฌาปณกิจสงเคราะห์ กองทุนสวัสดิการชุมชน – กองทุนหมู่บ้าน – กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน กข.คจ. โดยมีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นแกนนำในการยกระดับขึ้นเป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนตำบลบางด้วน อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรปราการ
สร้างความประทับใจให้กับทุกคนที่รับทราบผลความก้าวหน้าขององค์กรการเงินชุมชนที่ชาวบ้าน จำนวน 800 กว่าคน นำเงินมารวมกัน ได้ยกระดับความเข้มแข็งเสมือนองค์การการเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
การแก้ไขปัญหาต่างๆ ของ ศอช.ต. ในด้านการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการเพื่อการขับเคลื่อนก็คือการพึ่งตนเอง จัดหากลยุทธในการขับเคลื่อนร่วมกับองค์กรต่างๆ ตั้งเป้าหมายการพัฒนาบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง
ส่งเสริมให้ผู้ที่ประสงค์จะสร้างอาชีพประกอบอาชีพเสริมรายได้จากการเลี้ยงปลา –เลี้ยงกบ จากแหล่งเงินทุน เช่น กองทุนพัฒนาไฟฟ้า หรือ สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน บางรายจัดซื้อตู้น้ำดื่มมาให้บริการ บางรายทำดอกไม้ประดิษฐ์ – ดอกไม้จันทน์ – พวงหรีดเคารพศพชนิดผ้า และชนิดภาชนะของใช้ ในครัวเมื่อแล้วเสร็จพิธี มีกลุ่มเกษตรนวัตกรรม ปลูกผัก – เพาะเห็ดไร้สาร – ไร้ดิน ไว้บริโภคเองเหลือขาย
ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้คนในชุมชนใฝ่หาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน มาประดิษฐ์สินค้าหลากหลายรูปแบบมาก ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนสนับสนุนในการให้ฐานข้อมูลเพื่อการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติเพื่อเพิ่มรายได้






วิธีการ (เทคนิคการปฎิบัติ)
1.การบริหารงานที่สำคัญคือการแก้ไขปัญหาสำคัญเร่งด่วน
2.กระบวนการทำงาร่วมกับประชาชน
3.การประสานความร่วมมือระหว่าง กลุ่ม / องค์กรชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และ อปท.
เพื่อช่วยเหลือ / สนับสนุนการทำงานของผู้นำชุมชน / กลุ่มองค์กร
4.สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกันระหว่างภาคประชาชนและภาครัฐ
5.นำไปสู่ความร่วมมือกับ อปท. ทั้งในระดับตำบล (อบต.) และระดับจังหวัด (อบจ.) ตาม
ศักยภาพและบริบทของชุมชนที่แตกต่างกัน
ขุมความรู้
1.ประสบผลสำเร็จเป็นตัวอย่าง
2.รวบรวมปัญหา วิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสข้อจำกัด
3.ให้ความรู้ ทัศนศึกษาดูงาน กลุ่มองค์กรต่างๆ เพื่อประยุกต์นำมาใช้
4.แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
5.ปฎิบัติงาน กิจกรรม ประสานของบประมาณจากภายนอก
6.ประเมินผล
7.ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชน และหน่วยงานได้ทราบผลงาน
แก่นความรู้
1.เป็นต้นแบบ
2.ให้ความรู้ ทัศนศึกษาดูงาน
3.ประสานงาน แบ่งหน้าที่
4.คิดและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
5.บูรณาการกองทุนในชุมชน
กลยุทธ
เป็นต้นแบบ ศูนย์กลางเรียนรู้ของกลุ่มองค์กรภายในตำบลอย่างแท้จริง
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
เป็นศูนย์ที่จัดประชุม เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้ประชาชนทุกหมู่บ้านในตำบล ได้รู้จักว่า ศอช.ต. คือใคร ตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น