เจ้าของความรู้ นายจุฬา บุญเย็น
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางเสาธง
เบอร์โทรศัพท์ 084-123-0981 , 0-2707-1633
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การให้ความร่วมมือในการทำงานของผู้นำชุมชน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ 2546
สถานที่เกิดเหตุการณ์ จังหวัดสมุทรปราการ
ปี 2546 ข้าพเจ้าย้ายมาจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์มาปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ มีความกังวลใจในการปฏิบัติงานเนื่องจากข้าพเจ้าเคยทำงานเฉพาะต่างจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ชนบท จึงมีความวิตกเรื่องการให้ความร่วมมือของผู้นำชุมชนและสภาพพื้นที่เขตเมืองที่มีทั้งคนและรถยนต์ตลอดจนเส้นทางในการเดินทางไปปฏิบัติงาน รวมถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ เพราะคิดว่าคนในเขตชุมชนเมืองน่าจะมีความรู้ความสามารถเนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งสถานศึกษาที่ดี ๆ
เมื่อเดินทางมาปฏิบัติงานที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ สิ่งที่สร้างความประทับใจแรกก็คือ เพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชามีความเป็นกันเองและให้กำลังใจกับเพื่อร่วมงานใหม่และคอยแนะนำเรื่องต่าง ๆ เช่น สถานที่ บุคคลสำคัญ สภาพพื้นที่ งานหรือกิจกรรมของอำเภอที่ดำเนินการ
การดำเนินงานในพื้นที่สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ
1. ต้องมีพัฒนากรเดิมหรือคนที่อยู่ในอำเภอพาไปแนะนำพื้นที่และผู้นำฯ เนื่องจากคนเดิมจะมีความคุ้นเคยกันมาก่อนทำให้คนใหม่ได้ข้อมูลเรื่องสภาพพื้นที่และผู้นำชุมชนแต่ละคนเป็นอย่างไร (พอสังเขป)
2. เมื่อรู้จักคน สถานที่ แล้วต้องหมั่นเข้าไปหา เช่น พูดคุย ประสานงานในเบื้องต้นไม่ควรจะใช้โทรศัพท์สอบถามข้อมูลเรื่องงาน ควรจะเดินทางไปพบด้วยตนเองเพื่อจะให้ความสำคัญกับผู้นำชุมชน
3. การทำงาน พช. ในการนัดประชุม / จัดเวทีต่าง ๆ ส่วนใหญ่ประชาชนในเขตชุมชนเมืองจะไม่ค่อยมีเวลาถ้าเป็นไปได้ พัฒนากรควรสละเวลาในวันเสาร์ – อาทิตย์ เพราะจะได้ความร่วมมือจากผู้นำชุมชนและประชาชนมากขึ้น
4. การดำเนินงานพัฒนาชุมชนในชุมชน/หมู่บ้าน จะต้องหาผู้นำที่มีความสนิทเป็นพิเศษไว้ในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อเวลามีปัญหาหนัก ๆ แก้ไขยาก ๆ จะได้หาข้อมูลในเชิงลึก(ข้อมูลที่เปิดเผยได้)
5. ศึกษาข้อมูลในเชิงลึกกับผู้นำที่สนิท(ไว้ใจได้) ว่าคนในพื้นที่หรือหน่วยงานในพื้นที่ คิดยังไงกับพัฒนากรหรือพัฒนาชุมชน เพื่อจะได้ปรับกระบวน / วิธีการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ได้
การทำงานพัฒนากรในเขตเมืองหรือชนบท สิ่งสำคัญคือความตั้งใจ ความสนใจ ทั้งงาน พช.และผู้นำชุมชน และมีการศึกษาข้อมูลในเรื่องงาน / ความรู้รอบตัวให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ โดยพร้อมที่จะพัฒนา “คน” และพัฒนา “ตัวพัฒนากร” ตลอดเวลา
ขุมความรู้
1. แสวงหาพี่เลี้ยง / พัฒนากรเก่า
2. ทำความคุ้นเคยกับคนในชุมชน
3. เสียสละโดยเฉพาะเวลาของเจ้าหน้าที่
4. หาคนในชุมชนรู้ใจทำงานร่วม
5. ศึกษาหาข้อมูลเชิงลึก
แก่นความรู้
1. พี่เลี้ยงสอนแนะนำเข้าหาชุมชน
2. สร้างความคุ้นเคย
3. เสียสละ
4. เจาะลึกข้อมูล
กลยุทธ์
หาพี่เลี้ยง สร้างความคุ้นเคย เจาะลึกข้อมูล
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1. การทำงานแบบมีส่วนร่วม
2. หลักการพัฒนาชุมชน
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางเสาธง
เบอร์โทรศัพท์ 084-123-0981 , 0-2707-1633
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ การให้ความร่วมมือในการทำงานของผู้นำชุมชน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ 2546
สถานที่เกิดเหตุการณ์ จังหวัดสมุทรปราการ
ปี 2546 ข้าพเจ้าย้ายมาจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์มาปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ มีความกังวลใจในการปฏิบัติงานเนื่องจากข้าพเจ้าเคยทำงานเฉพาะต่างจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ชนบท จึงมีความวิตกเรื่องการให้ความร่วมมือของผู้นำชุมชนและสภาพพื้นที่เขตเมืองที่มีทั้งคนและรถยนต์ตลอดจนเส้นทางในการเดินทางไปปฏิบัติงาน รวมถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ เพราะคิดว่าคนในเขตชุมชนเมืองน่าจะมีความรู้ความสามารถเนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งสถานศึกษาที่ดี ๆ
เมื่อเดินทางมาปฏิบัติงานที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ สิ่งที่สร้างความประทับใจแรกก็คือ เพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชามีความเป็นกันเองและให้กำลังใจกับเพื่อร่วมงานใหม่และคอยแนะนำเรื่องต่าง ๆ เช่น สถานที่ บุคคลสำคัญ สภาพพื้นที่ งานหรือกิจกรรมของอำเภอที่ดำเนินการ
การดำเนินงานในพื้นที่สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ
1. ต้องมีพัฒนากรเดิมหรือคนที่อยู่ในอำเภอพาไปแนะนำพื้นที่และผู้นำฯ เนื่องจากคนเดิมจะมีความคุ้นเคยกันมาก่อนทำให้คนใหม่ได้ข้อมูลเรื่องสภาพพื้นที่และผู้นำชุมชนแต่ละคนเป็นอย่างไร (พอสังเขป)
2. เมื่อรู้จักคน สถานที่ แล้วต้องหมั่นเข้าไปหา เช่น พูดคุย ประสานงานในเบื้องต้นไม่ควรจะใช้โทรศัพท์สอบถามข้อมูลเรื่องงาน ควรจะเดินทางไปพบด้วยตนเองเพื่อจะให้ความสำคัญกับผู้นำชุมชน
3. การทำงาน พช. ในการนัดประชุม / จัดเวทีต่าง ๆ ส่วนใหญ่ประชาชนในเขตชุมชนเมืองจะไม่ค่อยมีเวลาถ้าเป็นไปได้ พัฒนากรควรสละเวลาในวันเสาร์ – อาทิตย์ เพราะจะได้ความร่วมมือจากผู้นำชุมชนและประชาชนมากขึ้น
4. การดำเนินงานพัฒนาชุมชนในชุมชน/หมู่บ้าน จะต้องหาผู้นำที่มีความสนิทเป็นพิเศษไว้ในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อเวลามีปัญหาหนัก ๆ แก้ไขยาก ๆ จะได้หาข้อมูลในเชิงลึก(ข้อมูลที่เปิดเผยได้)
5. ศึกษาข้อมูลในเชิงลึกกับผู้นำที่สนิท(ไว้ใจได้) ว่าคนในพื้นที่หรือหน่วยงานในพื้นที่ คิดยังไงกับพัฒนากรหรือพัฒนาชุมชน เพื่อจะได้ปรับกระบวน / วิธีการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ได้
การทำงานพัฒนากรในเขตเมืองหรือชนบท สิ่งสำคัญคือความตั้งใจ ความสนใจ ทั้งงาน พช.และผู้นำชุมชน และมีการศึกษาข้อมูลในเรื่องงาน / ความรู้รอบตัวให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ โดยพร้อมที่จะพัฒนา “คน” และพัฒนา “ตัวพัฒนากร” ตลอดเวลา
ขุมความรู้
1. แสวงหาพี่เลี้ยง / พัฒนากรเก่า
2. ทำความคุ้นเคยกับคนในชุมชน
3. เสียสละโดยเฉพาะเวลาของเจ้าหน้าที่
4. หาคนในชุมชนรู้ใจทำงานร่วม
5. ศึกษาหาข้อมูลเชิงลึก
แก่นความรู้
1. พี่เลี้ยงสอนแนะนำเข้าหาชุมชน
2. สร้างความคุ้นเคย
3. เสียสละ
4. เจาะลึกข้อมูล
กลยุทธ์
หาพี่เลี้ยง สร้างความคุ้นเคย เจาะลึกข้อมูล
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
1. การทำงานแบบมีส่วนร่วม
2. หลักการพัฒนาชุมชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น