เจ้าขององค์ความรู้ นายศรศิษฏ์ ทนทาน
แก้ไขปัญหา ความเชื่อ ความศรัทธา ในการแก้ไขปัญหาต้องมาจาก
พื้นที่ที่มีแผนชุมชน
นายศรศิษฎ์ ทนทาน(เทพพิทักษ์) อายุ 51 ปี เป็นคนดั้งเดิมมาจากจังหวัดพะเยา มาสร้างครอบครัว อยู่ที่บ้านสุขสวัสดิ์ หมู่ที่ 13 ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อปี 2525 ถือว่าเป็นนักพัฒนาชาวบ้านที่มีอะไรพลิกสถานการณ์ปรับเปลี่ยน บนกระบวนการคิดของเวทีชาวบ้านเสมอๆ ในฐานะนักวิชาการพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่ได้มาแนะนำตนเองและทำความรู้จักเมื่อมารับราชการในพื้นที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ เพราะเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาชุมชนระดับจังหวัด จะพูดถึงบุคคลๆนี้เสมอ เมื่อมารู้จักและพูดคุยแล้วต้องยอมรับว่า คุณศรศิษฎ์ เป็นบุคคลที่อยู่ในแวดวง ของนักพัฒนาชาวบ้านที่อยู่กับพื้นที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนโยกย้ายตนเองเหมือนข้าราชการทั่วไป บุคลิกเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอๆแต่เป็นคนตรงไปตรงมา ต้องขออนุญาตนำประวัติพอสังเขปให้รู้จักกับคุณศรศิษฎ์ มากขึ้น ท่านเป็นอาสาสมัครพัฒนาชุมชนเมื่อปี พ.ศ.2536 เป็นผู้นำอาสาสมัครพัฒนาชุมชนตำบลในคลองบางปลากดปี 2541- 2544 ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนดีเด่นปี 2543 เป็นผู้นำที่ขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานองค์กรชุม ปี 2544 เป็นผู้นำเสนอแนวคิดการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านต้องใช้แนวทางการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในแวดวงของนักพัฒนา เป็นผู้นำในการจดทะเบียนสมาคมผู้นำอาสาสมัครพัฒนาชุมชนและสมาคมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จังหวัดสมุทรปราการ ปี 2545 เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านจังหวัดสมุทรปราการรับตำแหน่งเป็นเลขา ปี 2546 ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านสุขสวัสดิ์ ปี 2548 ได้รับประกาศเกรียติคุณเป็นผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม(ผู้ใหญ่บ้านแหนบทอง) ปลายปี 2548 นำกองทุนหมู่บ้านผ่านการประเมินยกฐานะเป็นธนาคารแห่งแรกของ จังหวัดสมุทรปราการ ปี 2548 -2549 ร่วมกับอาจารย์มหาลัยและภาคีเครือข่ายทำงานวิจัยเรื่ององค์กรการเงิน ร่วมกับทีมงาน ดร.ครูชบ ยอดแก้ว สงขลา,คุณสามารถ พุธทา ลำปาง,พระอาจารย์สุบิน ตราด ,คุณพัชรี ประธานเครือตำบลกองทุนหมู่บ้าน ตำบลกระหรอ นครสีธรรมราช เมื่อมาดูประวัติพอสังเขปต้องยอมรับว่าท่านผู้ใหญ่ต้องมีองค์ความรู้และเป็นองค์ความที่อยู่ในระดับท้าทายว่าการขับเคลื่อนเรื่องแผนชุมชนสู่การพัฒนาแบบบูรณาการได้จริงหรือ....
ผู่ใหญ่ศรศิษฎ์บอกว่า การขับเคลื่อนเรื่องแผนชุมชนสู่การพัฒนาแบบบูรณาการ ต้องทำความเข้าใจ คำว่าแผนชุมชน กับการบูรณาการ แผนชุมชน ตามหลักวิชาการก่อน
แผนชุมชน หมายถึง กิจกรรมพัฒนาที่เกิดขึ้นจากคนในชุมชนที่มีการรวมตัวกันเพื่อจัดทำแผนขึ้นมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่นของตนเอง ให้เป็นไปตามความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ร่วมกันได้ โดยคนในชุมได้ร่วมกันคิด ร่วมกันกำหนดแนวทางและทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ซึ่งบางกิจกรรมชุมชนสามารถแก้ไขได้เองด้วยความร่วมมือของในชุมชนเองทั้งหมดด้วยความร่วมมือกันลงมือทำและเสียสละ บางกิจกรรมต้องขอความร่วมมือกับกับภาคที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขบางส่วนและบางกิจกรรมชุมชนไม่สามารที่จะแก้ไขได้เกินความสามารถต้องประสานกับท้องถิ่นหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา แผนชุมชนมีชื่อเรียกกันแตกต่างกันไปตามความเข้าใจของท้องถิ่นและผู้นำเสนอในเวทีเพื่อความหยืดหยุ่นและการประสานงาน อาทิ แผนแม่บทชุมชน, แผนชุมชนพึ่งตนเอง, แผนชีวิต,แผนชุมชน, แผนพัฒนาหมู่บ้านและแผนเพื่อประสานกับท้องถิ่น
การบูรณาการ แผนชุมชน หมายถึง วิธีการร่วมมือกันทำงานของหน่วยงานสนับสนุนพัฒนาภายนอกชุมชนทุกภาคส่วน โดยยึดหลักการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ชาวบ้านเป็นเจ้าของเรื่อง โดยใช้กระบวนการจัดทำแผนชุมชนเป็นเครื่องมือดำเนินกิจกรรมพัฒนาให้เป็นไปคามความต้องการของประชาชน มากกว่าวัตถุประสงค์ของหน่วยงานสนับสนุน มีทั้งบูรณาการด้านบุคลากร กระบวนการและเครื่องมือ แผนงานและงบประมาณ
ดังนั้นการขับเคลื่อนเรื่องแผนชุมชนสู่การพัฒนาแบบบูรณาการ เป็นไปได้ไม่ยากนักถ้าหน่วยงานสนับสนุนและท้องถิ่น ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นศูนย์กลาง และผู้นำแต่ละพื้นที่ต้องทุ่มเทเสียสละและไม่ชิงการนำ ชิงการได้เปรียบของการเมืองระดับพื้นที่ ส่วนหน่วยงานต้องไม่ชิงพื้นที่ว่าเป็นของหน่วยงานไหนเข้าไปส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายในการแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง
ความเชื่อความศรัทธา คือปัญหาที่ต้องเร่งสร้างให้กลับมาในหมู่นักพัฒนา,หน่วยงานสนับสนุนและท้องถิ่น ถ้าทุกภาคส่วนยังมีอัตตาสูงเมื่อนั้นการพัฒนาแห่งความยั่งยืนไม่เกิดขึ้นแน่
แต่วันนี้ในฐานะที่เป็นผู้นำ ได้ทำในสิ่งที่ชาวบ้านให้ทำนำกระบวนการมีส่วนร่วมมาเปิดเวทีคิด เวทีคุย เวทีแก้ไขปัญหา เวทีแห่งการวางแผนพัฒนาและร่วมกันตัดสินใจ มาอย่างต่อเนื่องจากที่ไม่ได้รับการยอมรับ ก็ได้รับการยอมรับ จากที่นำแผนไปเสนอและพูดคุยถูกปฏิเสธเสมอๆกับมาชื่นชมและมักถูกยกเป็นตัวอย่างเสมอๆ จากการที่แสวงหา งบประมาณไม่ได้ กับไม่อยากได้งบประมาณที่ไม่เป็นความต้องของชาวบ้านมาดำเนินการ จากความไม่เชื่อ ไม่มีความศรัทธา แต่สิ่งที่เอ่ยออกมากลับเป็นความชื่นชม และเอาไปเป็นแบบอย่าง วันนี้ความสำเร็จไม่ใช่อยู่ที่ตัวเอง อยู่ที่ชาวบ้านสุขสวัสดิ์ เป็นผู้ทำความฝันของตนเองในการคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกมิติที่เรียกว่าแผนชุมชน หรือแผนพัฒนาหมู่บ้านไปสู่แผนพัฒนาตำบลและปัจจุบันนี้จากจุดนี้ขยายผลของแผนปฏิบัติการของ องค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด ของหมู่บ้านนี้ร้อยเปอร์เซ็นมาจากแผนชุมชน และยังขยายผลไปสู่หมู่บ้านอื่นๆได้ระดับหนึ่ง
วันนี้แนวคิดการขับเคลื่อนเรื่องแผนชุมชนสู่การพัฒนาแบบบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ได้ก้าวไปอีกระดับหนึ่งแล้ว ด้วยวิสัยทัศน์ ของผู้บริหาร ด้วยการทำงานที่มีการปรับเปลี่ยนของเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเคยเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน วันนี้ที่นี่กำลังก้าวเดินไปบนกรอบยุทธศาสตร์ของกระทรวงมหาดไทยในการบูรณาการแผนชุมชน ไปสู่ตัวชี้วัดแห่งความสำเร็จที่มีกรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและกรมการพัฒนาชุมชนอยากเห็นและยากให้เป็นความสุขของชาวบ้านอย่างแท้จริง
วิธีการ (ปฎิบัติตน)
1. มีเวลาให้กับกิจกรรมส่วนรวม
2. ใฝ่ศึกษาหาความรู้และเป็นนักไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
3. เปิดเวทีได้ทุกโอกาสสถานที่ในการพูดคุยเรื่องที่ใหม่ๆกับสถานการณ์เปลี่ยนแปลง
4. อ่อนน้อมถ่อมตน และปิดหู ปิดตา ปิดปาก ในบางโอกาส ที่ไม่เอื้ออำนวย และ เหมาะสม
5. ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายเป็นเพื่อนและผูกมิตรได้กับคนทุกระดับ
6. ยกย่องเชิดชูเพื่อนร่วมงานและชาวบ้านอยู่เสมอๆ
7. สร้างบรรยากาศที่เคร่งเครียดของการวิเคราะห์ปัญหาเป็นเรื่องไม่มีปัญหา
8. ทำตัวอยู่หลังภาพแห่งความสำเร็จ ความสวยงามที่เกิดกับสังคมที่เข้าไปมีส่วนร่วม
9. ใช้หลักธรรมนำชีวิต หิริ ความละอายแก่ใจ โอตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป
จากเทคนิคการทำงานและปฎิบัติตน ของ ผู้ใหญ่ศรศิษฎ์ จนเป็นที่ยอม ชื่นชมและศรัทธาของชาวบ้านสุขสวัสดิ์แล้ว กลุ่มองค์กรต่างๆเชิญชวนเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการตามหลักของประชาธิปไตยเสมอๆ แต่ผู้ใหญ่ไม่เข้ารับการสรรหาเพื่อดำรงตำแหน่งในกลุ่มองค์กรต่างๆในช่วงปี 2530 -2553 แต่ด้วยจิตและวิญาณของการห่วงเพื่อนๆพี่น้องๆที่แบกสัมภาระของสังคมก็อดห่วงไม่ได้ เวทีแต่ละเวทีที่เป็นของภาคีเครือข่ายจะปรากฏตัวเองเพื่อเรียนรู้ แลกเปลี่ยนอยู่เสมอต้นเสมอปลาย ไม่เคยขาดเมื่อได้รับเชิญ
แต่งานที่เป็นการบริหารกึ่งวิชาการส่งเสริมสนับสนุนและปกครอง ที่ผู้ใหญ่ยังรับตำแหน่ง
ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านสุขสวัสดิ์ ,ประธานสถาบันการเงินบ้านสุขสวัสดิ์,รองประธานคณะกรรมการกองทุนสุขภาพระดับตำบล, คณะกรมการบริหารศูนย์การศึกนอกโรงเรียนเรียนอำเภอพระสมุทรเจดีย์,คณะการกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอ,คณะอนุกรรมการส่งเสริม ติดตามจัดตั้งกองทุนทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด,คณะกรรมการประเมินมาตรฐานแผนชุมชนระดับจังหวัด,คณะอนุกรรมการควบคุม มาตรฐานสถานพยาล ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ จังหวัดสมุทรปราการ,คณะอนุกรรมการจัดทำแผนแม่บทชุมชนพึงตนเองของสถาบันพัฒนาองค์การมหาชน จังหวัดสมุทรปราการ
ขุมความรู้
1. เป็นแบบอย่างที่ดี,มีจิตอาสา ยังพาผลประโยชน์ให้เกิดกับส่วนรวม
2. ทำไปเรียนรู้ไป แก้ไขปัญหาไป
3. ให้เกียรติและความสำคัญกับทีมงาน
4. ให้ความสำคัญกำคนเก่งทุกระดับ
5. เป็นนักประสานงานที่ดีมีมนุษย์สัมพันธ์ ,นักประชาสัมพันธ์,เป็นนักจุดประกายขาย
ความคิดและขยายผล
6. เชื่อมโยงหลักการตามตำรากับสถานการณ์เฉพะหน้าให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วม
7. เป็นผู้เอื้ออำนวยส่งเสริมความเข้มแข็งของหมู่บ้าน
8. ตื่นตัวอยู่เสมอๆมีความสามารถในการตัดสินใจ จูงใจ มีความรอบรู้ทันเหตุการณ์
แก่นความรู้
1. หมั่นสร้างเวทีร่วมคิดได้ทุกโอกาส
2. มีจิตอาสา ยังพาประโยชน์ส่วนร่วมคือความสุขของตนเอง
3. ให้คำปรึกษาและไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาท
4. สร้างความศรัทธาและเชื่อมั่น
5. นำพาผลประโยชน์ที่เกิดจากแผนกับสู่ชุมชนด้วยหลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์
กล้าพูดในสิ่งที่ทำ กล้านำในสิ่งที่เป็นมติจากเวทีประชาคม หมั่นชื่นชม ให้เกียรติและยกย่องทีมงานและภาคีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
*บทบาทของผู้นำ
*ภาวะของผู้นำ
*ผู้นำที่ที่มีประสิทธิภาพ
*********************
แก้ไขปัญหา ความเชื่อ ความศรัทธา ในการแก้ไขปัญหาต้องมาจาก
พื้นที่ที่มีแผนชุมชน
นายศรศิษฎ์ ทนทาน(เทพพิทักษ์) อายุ 51 ปี เป็นคนดั้งเดิมมาจากจังหวัดพะเยา มาสร้างครอบครัว อยู่ที่บ้านสุขสวัสดิ์ หมู่ที่ 13 ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อปี 2525 ถือว่าเป็นนักพัฒนาชาวบ้านที่มีอะไรพลิกสถานการณ์ปรับเปลี่ยน บนกระบวนการคิดของเวทีชาวบ้านเสมอๆ ในฐานะนักวิชาการพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่ได้มาแนะนำตนเองและทำความรู้จักเมื่อมารับราชการในพื้นที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ เพราะเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาชุมชนระดับจังหวัด จะพูดถึงบุคคลๆนี้เสมอ เมื่อมารู้จักและพูดคุยแล้วต้องยอมรับว่า คุณศรศิษฎ์ เป็นบุคคลที่อยู่ในแวดวง ของนักพัฒนาชาวบ้านที่อยู่กับพื้นที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนโยกย้ายตนเองเหมือนข้าราชการทั่วไป บุคลิกเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอๆแต่เป็นคนตรงไปตรงมา ต้องขออนุญาตนำประวัติพอสังเขปให้รู้จักกับคุณศรศิษฎ์ มากขึ้น ท่านเป็นอาสาสมัครพัฒนาชุมชนเมื่อปี พ.ศ.2536 เป็นผู้นำอาสาสมัครพัฒนาชุมชนตำบลในคลองบางปลากดปี 2541- 2544 ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนดีเด่นปี 2543 เป็นผู้นำที่ขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานองค์กรชุม ปี 2544 เป็นผู้นำเสนอแนวคิดการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านต้องใช้แนวทางการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในแวดวงของนักพัฒนา เป็นผู้นำในการจดทะเบียนสมาคมผู้นำอาสาสมัครพัฒนาชุมชนและสมาคมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จังหวัดสมุทรปราการ ปี 2545 เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านจังหวัดสมุทรปราการรับตำแหน่งเป็นเลขา ปี 2546 ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านสุขสวัสดิ์ ปี 2548 ได้รับประกาศเกรียติคุณเป็นผู้ใหญ่บ้านยอดเยี่ยม(ผู้ใหญ่บ้านแหนบทอง) ปลายปี 2548 นำกองทุนหมู่บ้านผ่านการประเมินยกฐานะเป็นธนาคารแห่งแรกของ จังหวัดสมุทรปราการ ปี 2548 -2549 ร่วมกับอาจารย์มหาลัยและภาคีเครือข่ายทำงานวิจัยเรื่ององค์กรการเงิน ร่วมกับทีมงาน ดร.ครูชบ ยอดแก้ว สงขลา,คุณสามารถ พุธทา ลำปาง,พระอาจารย์สุบิน ตราด ,คุณพัชรี ประธานเครือตำบลกองทุนหมู่บ้าน ตำบลกระหรอ นครสีธรรมราช เมื่อมาดูประวัติพอสังเขปต้องยอมรับว่าท่านผู้ใหญ่ต้องมีองค์ความรู้และเป็นองค์ความที่อยู่ในระดับท้าทายว่าการขับเคลื่อนเรื่องแผนชุมชนสู่การพัฒนาแบบบูรณาการได้จริงหรือ....
ผู่ใหญ่ศรศิษฎ์บอกว่า การขับเคลื่อนเรื่องแผนชุมชนสู่การพัฒนาแบบบูรณาการ ต้องทำความเข้าใจ คำว่าแผนชุมชน กับการบูรณาการ แผนชุมชน ตามหลักวิชาการก่อน
แผนชุมชน หมายถึง กิจกรรมพัฒนาที่เกิดขึ้นจากคนในชุมชนที่มีการรวมตัวกันเพื่อจัดทำแผนขึ้นมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่นของตนเอง ให้เป็นไปตามความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ร่วมกันได้ โดยคนในชุมได้ร่วมกันคิด ร่วมกันกำหนดแนวทางและทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ซึ่งบางกิจกรรมชุมชนสามารถแก้ไขได้เองด้วยความร่วมมือของในชุมชนเองทั้งหมดด้วยความร่วมมือกันลงมือทำและเสียสละ บางกิจกรรมต้องขอความร่วมมือกับกับภาคที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขบางส่วนและบางกิจกรรมชุมชนไม่สามารที่จะแก้ไขได้เกินความสามารถต้องประสานกับท้องถิ่นหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา แผนชุมชนมีชื่อเรียกกันแตกต่างกันไปตามความเข้าใจของท้องถิ่นและผู้นำเสนอในเวทีเพื่อความหยืดหยุ่นและการประสานงาน อาทิ แผนแม่บทชุมชน, แผนชุมชนพึ่งตนเอง, แผนชีวิต,แผนชุมชน, แผนพัฒนาหมู่บ้านและแผนเพื่อประสานกับท้องถิ่น
การบูรณาการ แผนชุมชน หมายถึง วิธีการร่วมมือกันทำงานของหน่วยงานสนับสนุนพัฒนาภายนอกชุมชนทุกภาคส่วน โดยยึดหลักการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ชาวบ้านเป็นเจ้าของเรื่อง โดยใช้กระบวนการจัดทำแผนชุมชนเป็นเครื่องมือดำเนินกิจกรรมพัฒนาให้เป็นไปคามความต้องการของประชาชน มากกว่าวัตถุประสงค์ของหน่วยงานสนับสนุน มีทั้งบูรณาการด้านบุคลากร กระบวนการและเครื่องมือ แผนงานและงบประมาณ
ดังนั้นการขับเคลื่อนเรื่องแผนชุมชนสู่การพัฒนาแบบบูรณาการ เป็นไปได้ไม่ยากนักถ้าหน่วยงานสนับสนุนและท้องถิ่น ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นศูนย์กลาง และผู้นำแต่ละพื้นที่ต้องทุ่มเทเสียสละและไม่ชิงการนำ ชิงการได้เปรียบของการเมืองระดับพื้นที่ ส่วนหน่วยงานต้องไม่ชิงพื้นที่ว่าเป็นของหน่วยงานไหนเข้าไปส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายในการแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง
ความเชื่อความศรัทธา คือปัญหาที่ต้องเร่งสร้างให้กลับมาในหมู่นักพัฒนา,หน่วยงานสนับสนุนและท้องถิ่น ถ้าทุกภาคส่วนยังมีอัตตาสูงเมื่อนั้นการพัฒนาแห่งความยั่งยืนไม่เกิดขึ้นแน่
แต่วันนี้ในฐานะที่เป็นผู้นำ ได้ทำในสิ่งที่ชาวบ้านให้ทำนำกระบวนการมีส่วนร่วมมาเปิดเวทีคิด เวทีคุย เวทีแก้ไขปัญหา เวทีแห่งการวางแผนพัฒนาและร่วมกันตัดสินใจ มาอย่างต่อเนื่องจากที่ไม่ได้รับการยอมรับ ก็ได้รับการยอมรับ จากที่นำแผนไปเสนอและพูดคุยถูกปฏิเสธเสมอๆกับมาชื่นชมและมักถูกยกเป็นตัวอย่างเสมอๆ จากการที่แสวงหา งบประมาณไม่ได้ กับไม่อยากได้งบประมาณที่ไม่เป็นความต้องของชาวบ้านมาดำเนินการ จากความไม่เชื่อ ไม่มีความศรัทธา แต่สิ่งที่เอ่ยออกมากลับเป็นความชื่นชม และเอาไปเป็นแบบอย่าง วันนี้ความสำเร็จไม่ใช่อยู่ที่ตัวเอง อยู่ที่ชาวบ้านสุขสวัสดิ์ เป็นผู้ทำความฝันของตนเองในการคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกมิติที่เรียกว่าแผนชุมชน หรือแผนพัฒนาหมู่บ้านไปสู่แผนพัฒนาตำบลและปัจจุบันนี้จากจุดนี้ขยายผลของแผนปฏิบัติการของ องค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด ของหมู่บ้านนี้ร้อยเปอร์เซ็นมาจากแผนชุมชน และยังขยายผลไปสู่หมู่บ้านอื่นๆได้ระดับหนึ่ง
วันนี้แนวคิดการขับเคลื่อนเรื่องแผนชุมชนสู่การพัฒนาแบบบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ได้ก้าวไปอีกระดับหนึ่งแล้ว ด้วยวิสัยทัศน์ ของผู้บริหาร ด้วยการทำงานที่มีการปรับเปลี่ยนของเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเคยเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน วันนี้ที่นี่กำลังก้าวเดินไปบนกรอบยุทธศาสตร์ของกระทรวงมหาดไทยในการบูรณาการแผนชุมชน ไปสู่ตัวชี้วัดแห่งความสำเร็จที่มีกรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและกรมการพัฒนาชุมชนอยากเห็นและยากให้เป็นความสุขของชาวบ้านอย่างแท้จริง
วิธีการ (ปฎิบัติตน)
1. มีเวลาให้กับกิจกรรมส่วนรวม
2. ใฝ่ศึกษาหาความรู้และเป็นนักไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
3. เปิดเวทีได้ทุกโอกาสสถานที่ในการพูดคุยเรื่องที่ใหม่ๆกับสถานการณ์เปลี่ยนแปลง
4. อ่อนน้อมถ่อมตน และปิดหู ปิดตา ปิดปาก ในบางโอกาส ที่ไม่เอื้ออำนวย และ เหมาะสม
5. ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายเป็นเพื่อนและผูกมิตรได้กับคนทุกระดับ
6. ยกย่องเชิดชูเพื่อนร่วมงานและชาวบ้านอยู่เสมอๆ
7. สร้างบรรยากาศที่เคร่งเครียดของการวิเคราะห์ปัญหาเป็นเรื่องไม่มีปัญหา
8. ทำตัวอยู่หลังภาพแห่งความสำเร็จ ความสวยงามที่เกิดกับสังคมที่เข้าไปมีส่วนร่วม
9. ใช้หลักธรรมนำชีวิต หิริ ความละอายแก่ใจ โอตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป
จากเทคนิคการทำงานและปฎิบัติตน ของ ผู้ใหญ่ศรศิษฎ์ จนเป็นที่ยอม ชื่นชมและศรัทธาของชาวบ้านสุขสวัสดิ์แล้ว กลุ่มองค์กรต่างๆเชิญชวนเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการตามหลักของประชาธิปไตยเสมอๆ แต่ผู้ใหญ่ไม่เข้ารับการสรรหาเพื่อดำรงตำแหน่งในกลุ่มองค์กรต่างๆในช่วงปี 2530 -2553 แต่ด้วยจิตและวิญาณของการห่วงเพื่อนๆพี่น้องๆที่แบกสัมภาระของสังคมก็อดห่วงไม่ได้ เวทีแต่ละเวทีที่เป็นของภาคีเครือข่ายจะปรากฏตัวเองเพื่อเรียนรู้ แลกเปลี่ยนอยู่เสมอต้นเสมอปลาย ไม่เคยขาดเมื่อได้รับเชิญ
แต่งานที่เป็นการบริหารกึ่งวิชาการส่งเสริมสนับสนุนและปกครอง ที่ผู้ใหญ่ยังรับตำแหน่ง
ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านสุขสวัสดิ์ ,ประธานสถาบันการเงินบ้านสุขสวัสดิ์,รองประธานคณะกรรมการกองทุนสุขภาพระดับตำบล, คณะกรมการบริหารศูนย์การศึกนอกโรงเรียนเรียนอำเภอพระสมุทรเจดีย์,คณะการกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอ,คณะอนุกรรมการส่งเสริม ติดตามจัดตั้งกองทุนทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด,คณะกรรมการประเมินมาตรฐานแผนชุมชนระดับจังหวัด,คณะอนุกรรมการควบคุม มาตรฐานสถานพยาล ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ จังหวัดสมุทรปราการ,คณะอนุกรรมการจัดทำแผนแม่บทชุมชนพึงตนเองของสถาบันพัฒนาองค์การมหาชน จังหวัดสมุทรปราการ
ขุมความรู้
1. เป็นแบบอย่างที่ดี,มีจิตอาสา ยังพาผลประโยชน์ให้เกิดกับส่วนรวม
2. ทำไปเรียนรู้ไป แก้ไขปัญหาไป
3. ให้เกียรติและความสำคัญกับทีมงาน
4. ให้ความสำคัญกำคนเก่งทุกระดับ
5. เป็นนักประสานงานที่ดีมีมนุษย์สัมพันธ์ ,นักประชาสัมพันธ์,เป็นนักจุดประกายขาย
ความคิดและขยายผล
6. เชื่อมโยงหลักการตามตำรากับสถานการณ์เฉพะหน้าให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วม
7. เป็นผู้เอื้ออำนวยส่งเสริมความเข้มแข็งของหมู่บ้าน
8. ตื่นตัวอยู่เสมอๆมีความสามารถในการตัดสินใจ จูงใจ มีความรอบรู้ทันเหตุการณ์
แก่นความรู้
1. หมั่นสร้างเวทีร่วมคิดได้ทุกโอกาส
2. มีจิตอาสา ยังพาประโยชน์ส่วนร่วมคือความสุขของตนเอง
3. ให้คำปรึกษาและไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาท
4. สร้างความศรัทธาและเชื่อมั่น
5. นำพาผลประโยชน์ที่เกิดจากแผนกับสู่ชุมชนด้วยหลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์
กล้าพูดในสิ่งที่ทำ กล้านำในสิ่งที่เป็นมติจากเวทีประชาคม หมั่นชื่นชม ให้เกียรติและยกย่องทีมงานและภาคีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
*บทบาทของผู้นำ
*ภาวะของผู้นำ
*ผู้นำที่ที่มีประสิทธิภาพ
*********************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น