ชื่อ-นามสกุล นางสาวสุริสา วรอานันท์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางบ่อ
เบอร์โทรศัพท์ 083-268-8838
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ ผู้นำรุ่นใหม่ไม่กล้าแสดงออกหรือไม่มีภาวะการนำ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2552
สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านคลองบางพลีน้อย หมู่ที่ 6 ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ เดือนมิถุนายน 2552 โดยข้าพเจ้าได้รับคำสั่งให้ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางบ่อ และได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ”พออยู่ พอกิน” ซึ่งเป้าหมายในการดำเนินงาน คือ บ้านคลองบางพลีน้อย หมู่ที่ 6 ตำบลบางพลีน้อย
ข้าพเจ้าได้เริ่มปฏิบัติการโดยการจัดประชุมครัวเรือนเป้าหมาย และในการประชุมครั้งนั้นข้าพเจ้าได้ขอให้ตัวแทนชาวบ้าน ช่วยสรุปผลการดำเนินงานของหมู่บ้านที่ผ่านมา เนื่องจากข้าพเจ้าได้รับข้อมูลจากท่านพัฒนาอำเภอบางบ่อในขณะนั้น(นางจินดา รัตนพันธ์) ว่าหมู่บ้านนี้เคยได้รับงบประมาณสนับสนุนงบประมาณในปี 2550 จำนวน 100,000 บาท ให้ดำเนินการหมู่บ้านพอเพียง ผลปรากฏว่าไม่มีใครกล้าออกมาสรุป แต่กับกลายเป็นว่าต่างคนต่างแย่งกันเล่า ทำให้ข้าพเจ้าทราบว่า หมู่บ้านคลองบางพลีน้อยแห่งนี้มีความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับหนึ่ง ถ้าจะต่อยอดให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ”พออยู่ พอกิน” ก็ไม่น่าจะยาก เนื่องจากสามารถปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ แต่หมู่บ้านนี้มีปัญหาในเรื่องไม่มีผู้นำที่จะนำเสนอผลงานให้กับบุคคลอื่นได้เรียนรู้ ข้าพเจ้าจึงมีแนวความคิดที่จะสร้างผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ขึ้นมา เพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดขั้นตอนและผลการดำเนินงาน รวมถึงความรู้ต่าง ๆที่มีอยู่ในหมู่บ้าน โดยมีเป้าหมายจะส่งเสริมให้บ้านคลองบางพลีน้อยเป็นทั้งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบและต่อยอดเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้วย
เมื่อตัดสินใจจะสร้างผู้นำชุมชนรุ่นใหม่แล้ว ก็มีปัญหาว่า แล้วผู้นำคนนั้นจะเป็นใคร และปัญหานี้ก็มีทางออก เมื่อข้าพเจ้าพบผู้นำคนนี้ จากการที่ข้าพเจ้าได้นำครัวเรือนเป้าหมายเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนากสิกรรมธรรมชาติสู่เศรษฐกิจพอเพียง ที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ วิทยาเขตบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา มีผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ 3-4 คน ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับที่ข้าพเจ้าคาดหวัง และที่โดดเด่นมาก คือ น้องใกล้รุ่ง แสงทอง เนื่องจากใกล้รุ่ง แสดงให้เห็นว่าสามารถซึมซับแนวคิด หลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมุ่งมั่นที่จะนำแนวคิดนี้ปฏิบัติอย่างจริงจัง
ข้าพเจ้าเริ่มปฏิบัติการโดยประกบน้องใกล้รุ่ง แบบตัวต่อตัว โดยในการดำเนินการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และขยายผลศูนย์การเรียนรู้ชุมชนจะมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นระยะ ๆ เมื่อดำเนินการจัดเวทีในแต่ละครั้งข้าพเจ้าพูดคุย แลกเปลี่ยนกับใกล้รุ่ง เสมอว่าในเวทีแต่ละครั้งใกล้รุ่ง ได้เรียนรู้เรื่องอะไร และตรงกับวัตถุประสงค์ในการจัดหรือไม่ มีอะไรที่ยังอยากเรียนรู้เพิ่มเติม จะได้นำมาพูดคุยกันในเวทีครั้งต่อไป และบอกให้ใกล้รุ่งกลับไปเขียนบันทึกไว้กันลืม ซึ่งในการจัดเวทีแต่ละครั้งข้าพเจ้าจะกระตุ้นให้ตัวแทนครัวเรือนได้ออกมาสรุปผลเวทีครั้งที่ผ่านมาให้กับเพื่อนฟังประมาณ 3-4 คน เสมอ แรก ๆก็มีการเกี่ยงกันเล็กน้อย เลยต้องชี้ให้ออกมาพูดน้องใกล้รุ่งก็เป็นเป้าหมายที่ข้าพเจ้าให้ออกมาพูด เมื่อข้าพเจ้าเห็นว่าน้องใกล้รุ่ง รวมทั้งผู้นำชุมชนคนอื่น ๆ มีปัญหาในการพูด ข้าพเจ้าได้ประชาสัมพันธ์ระบบมาตรฐานงานชุมชน(มชช.) ซึ่งเป็นระบบที่ต้องการพัฒนาคุณภาพของคนให้เป็นที่ยอมรับ และชี้ให้เค้าเห็นถึงประโยชน์ว่าเมื่อสมัคร มชช.แล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ปรากฏว่าน้องใกล้รุ่งและผู้นำอีก 5 คน รวมเป็น 6 คน สมัครเข้าสู่ระบบ มชช. ประเภทผู้นำชุมชน ซึ่งข้าพเจ้าในฐานะพัฒนากรผู้รับผิดชอบงาน มชช.ก็จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าชุมชน และเมื่อสรุปในแต่ละเวทีก็จะให้ผู้นำทั้ง 6 คน ในเป็นคนออกมาสรุป เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ เป็นการพัฒนาตนเองอีกทางหนึ่ง ซึ่งในแต่ละเวทีน้องใกล้รุ่งทำได้โดดเด่นและเริ่มเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากนำประสบการณ์จริงที่ได้จากโครงการฯ มาถ่ายทอดและเวทีที่พูดคุยก็เป็นคนในหมู่บ้านเอง
เมื่อบ้านคลองบางพลีน้อยได้เป็นตัวแทนของอำเภอบางบ่อเข้าร่วมการประกวดกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง”อยู่เย็น เป็นสุข” ประจำปี 2553 ข้าพเจ้าได้ประชุมเพื่อวางแผนและแบ่งงานกันทำ ปรากฏว่าน้องใกล้รุ่ง ได้รับการเสนอชื่อให้สรุปผลการดำเนินงานของหมู่บ้านอย่างเป็นเอกฉันท์ ได้ออกมาพูดกับข้าพเจ้าว่าเครียดกลัวทำไม่ได้ ข้าพเจ้าพูดให้กำลังใจไปว่า น้องต้องทำได้แน่นอน เพราะในเวทีแต่ละครั้งที่มีการสรุป น้องสามารถสรุปได้ชัดเจน เป็นรูปธรรม และเป็นธรรมชาติ น้องใกล้รุ่ง บอกว่าที่ทำได้เพราะพูดกับคนในหมู่บ้าน แต่ไม่เคยพูดในเวทีอื่น ๆ เลย ข้าพเจ้าบอกให้กำลังใจ และแนะนำให้น้องทบทวนถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ปฏิบัติจริงจากโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ รวมถึงการขยายผลศูนย์เรียนรู้ชุมชน และแบ่งประเด็นที่จะนำเสนอเป็นประเด็นหลัก ๆ ไม่ต้องอ่านตามเอกสารทั้งหมด แต่ให้พูดจากความคิด ความรู้สึก ที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติจริง จนเกิดเกิดประโยชน์ต่อตนเองและคนในหมู่บ้านรวมถึงความต้องการจะถ่ายทอดให้กับคนอื่นได้รู้ ได้แลกเปลี่ยนกัน และก่อนการประกวดให้น้องใกล้รุ่ง มาลองนำเสนอให้ฟังก่อนการประกวด
เมื่อถึงวันประกวดก่อนที่คณะกรรมการจะเดินทางมาถึง ข้าพเจ้าได้ทบทวนให้กับครัวเรือนเป้าหมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่หมู่บ้านคลองบางพลีน้อยได้ดำเนินการมาจากหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ”พออยู่ พอกิน” สู่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดเรียนรู้ 3 ฐาน ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น มีจุดเรียนรู้อยู่ 9 จุด จนมาถึงการเข้าสู่การประกวด เมื่อข้าพเจ้า
ทบทวนเสร็จ น้องใกล้รุ่งเดินมาพูดกับข้าพเจ้าว่า “พี่หนูพูดประมาณพี่ได้ไหม” ข้าพเจ้าตอบว่าได้ซิ น้องใกล้รุ่ง ทำได้ดีอยู่แล้วล่ะ หายใจลึก ๆ ทำจิตใจให้สบาย ไม่ต้องเกร็ง ทบทวนประเด็นสำคัญ ๆ ถ่ายทอดเรื่องจริงที่ได้ปฏิบัติมา เล่าให้เค้าฟัง อยากเล่าอะไรเล่าไปเลย ไม่ต้องเครียด
เมื่อถึงเวลานำเสนอข้าพเจ้าให้น้องใกล้รุ่งนำเสนอเป็นคนสุดท้าย เนื่องจากจะได้คุ้นเคยกับคณะกรรมการ เห็นลีลาท่าทางของคนอื่น และมีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจมากขึ้น ผลปรากฏว่าเมื่อนำเสนอผลงานจบน้องทำได้ดี จนท่านพัฒนาการจังหวัดสมุทรปราการพูดเย้าว่า “เดี๋ยวกลับไปต้องตัดเงินเดือนลูกน้องโทษฐานโกหกผู้บังคับบัญชาว่าน้องพึ่งนำเสนอเป็นครั้งแรก”
ขุมความรู้
1. สืบค้นผู้นำรุ่นใหม่ที่มีหน่วยก้านและใฝ่รู้
2. สร้างความคุ้นเคย/ติดตามส่งเสริมสนับสนุนและเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้
3. กระตุ้นให้มีบทบาทและภาวะผู้นำ
4. เสริมให้เข้าสู่ระบบ มชช.
5. ให้กำลังใจและผลักดันให้กล้าแสดงออก
6. ให้โอกาสในการแสดงบทบาทผู้นำที่เด่นชัด
แก่นความรู้
1. สร้างความสนิทสนมคุ้นเคย
2. กระตุ้นให้กำลังใจ
3. เอื้ออำนวยด้วยบทบาทพี่เลี้ยง
4. ให้โอกาส
กลยุทธ์ ให้โอกาส สร้างแรงบันดาลใจ ใฝ่ส่งเสริม เติมพลังความเชี่ยวชาญ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางบ่อ
เบอร์โทรศัพท์ 083-268-8838
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ ผู้นำรุ่นใหม่ไม่กล้าแสดงออกหรือไม่มีภาวะการนำ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2552
สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านคลองบางพลีน้อย หมู่ที่ 6 ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ เดือนมิถุนายน 2552 โดยข้าพเจ้าได้รับคำสั่งให้ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางบ่อ และได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ”พออยู่ พอกิน” ซึ่งเป้าหมายในการดำเนินงาน คือ บ้านคลองบางพลีน้อย หมู่ที่ 6 ตำบลบางพลีน้อย
ข้าพเจ้าได้เริ่มปฏิบัติการโดยการจัดประชุมครัวเรือนเป้าหมาย และในการประชุมครั้งนั้นข้าพเจ้าได้ขอให้ตัวแทนชาวบ้าน ช่วยสรุปผลการดำเนินงานของหมู่บ้านที่ผ่านมา เนื่องจากข้าพเจ้าได้รับข้อมูลจากท่านพัฒนาอำเภอบางบ่อในขณะนั้น(นางจินดา รัตนพันธ์) ว่าหมู่บ้านนี้เคยได้รับงบประมาณสนับสนุนงบประมาณในปี 2550 จำนวน 100,000 บาท ให้ดำเนินการหมู่บ้านพอเพียง ผลปรากฏว่าไม่มีใครกล้าออกมาสรุป แต่กับกลายเป็นว่าต่างคนต่างแย่งกันเล่า ทำให้ข้าพเจ้าทราบว่า หมู่บ้านคลองบางพลีน้อยแห่งนี้มีความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับหนึ่ง ถ้าจะต่อยอดให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ”พออยู่ พอกิน” ก็ไม่น่าจะยาก เนื่องจากสามารถปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ แต่หมู่บ้านนี้มีปัญหาในเรื่องไม่มีผู้นำที่จะนำเสนอผลงานให้กับบุคคลอื่นได้เรียนรู้ ข้าพเจ้าจึงมีแนวความคิดที่จะสร้างผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ขึ้นมา เพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดขั้นตอนและผลการดำเนินงาน รวมถึงความรู้ต่าง ๆที่มีอยู่ในหมู่บ้าน โดยมีเป้าหมายจะส่งเสริมให้บ้านคลองบางพลีน้อยเป็นทั้งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบและต่อยอดเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้วย
เมื่อตัดสินใจจะสร้างผู้นำชุมชนรุ่นใหม่แล้ว ก็มีปัญหาว่า แล้วผู้นำคนนั้นจะเป็นใคร และปัญหานี้ก็มีทางออก เมื่อข้าพเจ้าพบผู้นำคนนี้ จากการที่ข้าพเจ้าได้นำครัวเรือนเป้าหมายเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนากสิกรรมธรรมชาติสู่เศรษฐกิจพอเพียง ที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ วิทยาเขตบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา มีผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ 3-4 คน ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับที่ข้าพเจ้าคาดหวัง และที่โดดเด่นมาก คือ น้องใกล้รุ่ง แสงทอง เนื่องจากใกล้รุ่ง แสดงให้เห็นว่าสามารถซึมซับแนวคิด หลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมุ่งมั่นที่จะนำแนวคิดนี้ปฏิบัติอย่างจริงจัง
ข้าพเจ้าเริ่มปฏิบัติการโดยประกบน้องใกล้รุ่ง แบบตัวต่อตัว โดยในการดำเนินการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และขยายผลศูนย์การเรียนรู้ชุมชนจะมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นระยะ ๆ เมื่อดำเนินการจัดเวทีในแต่ละครั้งข้าพเจ้าพูดคุย แลกเปลี่ยนกับใกล้รุ่ง เสมอว่าในเวทีแต่ละครั้งใกล้รุ่ง ได้เรียนรู้เรื่องอะไร และตรงกับวัตถุประสงค์ในการจัดหรือไม่ มีอะไรที่ยังอยากเรียนรู้เพิ่มเติม จะได้นำมาพูดคุยกันในเวทีครั้งต่อไป และบอกให้ใกล้รุ่งกลับไปเขียนบันทึกไว้กันลืม ซึ่งในการจัดเวทีแต่ละครั้งข้าพเจ้าจะกระตุ้นให้ตัวแทนครัวเรือนได้ออกมาสรุปผลเวทีครั้งที่ผ่านมาให้กับเพื่อนฟังประมาณ 3-4 คน เสมอ แรก ๆก็มีการเกี่ยงกันเล็กน้อย เลยต้องชี้ให้ออกมาพูดน้องใกล้รุ่งก็เป็นเป้าหมายที่ข้าพเจ้าให้ออกมาพูด เมื่อข้าพเจ้าเห็นว่าน้องใกล้รุ่ง รวมทั้งผู้นำชุมชนคนอื่น ๆ มีปัญหาในการพูด ข้าพเจ้าได้ประชาสัมพันธ์ระบบมาตรฐานงานชุมชน(มชช.) ซึ่งเป็นระบบที่ต้องการพัฒนาคุณภาพของคนให้เป็นที่ยอมรับ และชี้ให้เค้าเห็นถึงประโยชน์ว่าเมื่อสมัคร มชช.แล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ปรากฏว่าน้องใกล้รุ่งและผู้นำอีก 5 คน รวมเป็น 6 คน สมัครเข้าสู่ระบบ มชช. ประเภทผู้นำชุมชน ซึ่งข้าพเจ้าในฐานะพัฒนากรผู้รับผิดชอบงาน มชช.ก็จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพูดต่อหน้าชุมชน และเมื่อสรุปในแต่ละเวทีก็จะให้ผู้นำทั้ง 6 คน ในเป็นคนออกมาสรุป เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ เป็นการพัฒนาตนเองอีกทางหนึ่ง ซึ่งในแต่ละเวทีน้องใกล้รุ่งทำได้โดดเด่นและเริ่มเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากนำประสบการณ์จริงที่ได้จากโครงการฯ มาถ่ายทอดและเวทีที่พูดคุยก็เป็นคนในหมู่บ้านเอง
เมื่อบ้านคลองบางพลีน้อยได้เป็นตัวแทนของอำเภอบางบ่อเข้าร่วมการประกวดกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง”อยู่เย็น เป็นสุข” ประจำปี 2553 ข้าพเจ้าได้ประชุมเพื่อวางแผนและแบ่งงานกันทำ ปรากฏว่าน้องใกล้รุ่ง ได้รับการเสนอชื่อให้สรุปผลการดำเนินงานของหมู่บ้านอย่างเป็นเอกฉันท์ ได้ออกมาพูดกับข้าพเจ้าว่าเครียดกลัวทำไม่ได้ ข้าพเจ้าพูดให้กำลังใจไปว่า น้องต้องทำได้แน่นอน เพราะในเวทีแต่ละครั้งที่มีการสรุป น้องสามารถสรุปได้ชัดเจน เป็นรูปธรรม และเป็นธรรมชาติ น้องใกล้รุ่ง บอกว่าที่ทำได้เพราะพูดกับคนในหมู่บ้าน แต่ไม่เคยพูดในเวทีอื่น ๆ เลย ข้าพเจ้าบอกให้กำลังใจ และแนะนำให้น้องทบทวนถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ปฏิบัติจริงจากโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ รวมถึงการขยายผลศูนย์เรียนรู้ชุมชน และแบ่งประเด็นที่จะนำเสนอเป็นประเด็นหลัก ๆ ไม่ต้องอ่านตามเอกสารทั้งหมด แต่ให้พูดจากความคิด ความรู้สึก ที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติจริง จนเกิดเกิดประโยชน์ต่อตนเองและคนในหมู่บ้านรวมถึงความต้องการจะถ่ายทอดให้กับคนอื่นได้รู้ ได้แลกเปลี่ยนกัน และก่อนการประกวดให้น้องใกล้รุ่ง มาลองนำเสนอให้ฟังก่อนการประกวด
เมื่อถึงวันประกวดก่อนที่คณะกรรมการจะเดินทางมาถึง ข้าพเจ้าได้ทบทวนให้กับครัวเรือนเป้าหมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่หมู่บ้านคลองบางพลีน้อยได้ดำเนินการมาจากหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ”พออยู่ พอกิน” สู่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดเรียนรู้ 3 ฐาน ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น มีจุดเรียนรู้อยู่ 9 จุด จนมาถึงการเข้าสู่การประกวด เมื่อข้าพเจ้า
ทบทวนเสร็จ น้องใกล้รุ่งเดินมาพูดกับข้าพเจ้าว่า “พี่หนูพูดประมาณพี่ได้ไหม” ข้าพเจ้าตอบว่าได้ซิ น้องใกล้รุ่ง ทำได้ดีอยู่แล้วล่ะ หายใจลึก ๆ ทำจิตใจให้สบาย ไม่ต้องเกร็ง ทบทวนประเด็นสำคัญ ๆ ถ่ายทอดเรื่องจริงที่ได้ปฏิบัติมา เล่าให้เค้าฟัง อยากเล่าอะไรเล่าไปเลย ไม่ต้องเครียด
เมื่อถึงเวลานำเสนอข้าพเจ้าให้น้องใกล้รุ่งนำเสนอเป็นคนสุดท้าย เนื่องจากจะได้คุ้นเคยกับคณะกรรมการ เห็นลีลาท่าทางของคนอื่น และมีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจมากขึ้น ผลปรากฏว่าเมื่อนำเสนอผลงานจบน้องทำได้ดี จนท่านพัฒนาการจังหวัดสมุทรปราการพูดเย้าว่า “เดี๋ยวกลับไปต้องตัดเงินเดือนลูกน้องโทษฐานโกหกผู้บังคับบัญชาว่าน้องพึ่งนำเสนอเป็นครั้งแรก”
ขุมความรู้
1. สืบค้นผู้นำรุ่นใหม่ที่มีหน่วยก้านและใฝ่รู้
2. สร้างความคุ้นเคย/ติดตามส่งเสริมสนับสนุนและเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้
3. กระตุ้นให้มีบทบาทและภาวะผู้นำ
4. เสริมให้เข้าสู่ระบบ มชช.
5. ให้กำลังใจและผลักดันให้กล้าแสดงออก
6. ให้โอกาสในการแสดงบทบาทผู้นำที่เด่นชัด
แก่นความรู้
1. สร้างความสนิทสนมคุ้นเคย
2. กระตุ้นให้กำลังใจ
3. เอื้ออำนวยด้วยบทบาทพี่เลี้ยง
4. ให้โอกาส
กลยุทธ์ ให้โอกาส สร้างแรงบันดาลใจ ใฝ่ส่งเสริม เติมพลังความเชี่ยวชาญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น