เจ้าของความรู้ นางกัญญา จุฑามณี
ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอบางเสาธง
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางเสาธง
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 084-7593600
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ ความไม่ชัดเจนในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและการนำไปใช้ในวิถีชีวิต
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2550
สถานที่เกิดเหตุการณ์ จังหวัดสมุทรปราการ
ในปี 2550 เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ประกอบกับรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดนโยบายขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นรากฐานการดำรงชีวิตของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนและระดับประเทศมุ่งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การนำความรู้ไปขยายผลในพื้นที่ให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับมุ่งส่งเสริมการสร้างสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้น่าอยู่ประชาชนมีวิถีชีวิตอย่างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข
จังหวัดสมุทรปราการดำเนินการคัดเลือกหมู่บ้านเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 80 หมู่บ้าน จาก 5 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ โดยกำหนดการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 กิจกรรม คือ 1) การประชุมชี้แจงการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตและการจัดการหมู่บ้านสะอาดน่าอยู่ให้กับแกนนำชุมชน สมาชิก อบต. กำนัน , ผู้ใหญ่บ้าน , ผู้นำ อช. , อช. , องค์กรสตรี , ประธานกลุ่มอาชีพ OTOP ฯลฯ 2) จัดมหกรรมอาชีพ แก้จน จำนวน 30 อาชีพ ให้กับครัวเรือนยากจนในหมู่บ้านเป้าหมาย 3) สนับสนุนกิจกรรมทางเลือกด้านอาชีพแก่ครัวเรือนยากจนในหมู่บ้านเป้าหมาย 4) การคัดเลือก / มอบรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการและได้รับความร่วมมือจาก คณะวิทยากร ได้แก่ นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , นายอัครวัฒน์ อัศวเหม รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ , ดร. ธันวา จิตต์สงวน อนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง รองอธิการบดีฝ่ายโครงการพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ นายอเนก เพ็งสุพรรณ ปราชญ์ชาวบ้านจากอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการบรรยายเรื่อง “การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ” การดำเนินงานของจังหวัดมีการติดตาม / ประเมินผลโดยมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและคณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้งในการติดตามผลรายอำเภอใช้เกณฑ์ตัวชี้วัดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 6X2 ของกรมการพัฒนาชุมชนเป็นเครื่องมือหนึ่งในการวัดผลความก้าวหน้า ในด้านการประชาสัมพันธ์มีการออกสปอร์ตการให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงทางวิทยุชุมชน สื่อสารสิ่งพิมพ์ภายในจังหวัด มีการจัดทำป้ายไวนิล แผ่นพับประชาสัมพันธ์ในทุกพื้นที่ ปัญหาที่ต้องแก้ไข
ขณะดำเนินการต้องให้ความระมัดระวัง อาทิ กิจกรรมการประชุมชี้แจงฯ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก
กระบวนการที่ใช้ คือ การบรรยาย / การอภิปรายบนเวทีในห้องประชุมใหญ่ ไม่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์วงจรปิด ทำให้คนที่นั่งด้านหลังไม่เห็นและได้ยินไม่ชัดเจน ปัญหานี้แก้ไขโดยการจัดทีมงานออกไปบรรยายเป็นรายอำเภอ การทำแผ่น CD-ROM เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแจก อีกกรณีหนึ่งที่ต้องให้ความระมัดระวังก็คือเรื่องระยะเวลาการดำเนินงานซึ่งมีเวลาจำกัดไม่สมดุลกับจำนวนกิจกรรมและการที่จะเห็นผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ทำให้ต้องขออนุมัติขยายระยะเวลาการดำเนินงานออกไปอีก 2 เดือนและมีกิจกรรมเสริมต่อเพื่อความต่อเนื่องให้เกิดการพัฒนาในระยะยาวในลักษณะ “สร้างเพื่อน สร้างเครือข่าย”
หลังจากการดำเนินงานเสร็จสิ้น ปรากฏว่า ประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายเกิดความตื่นตัวที่จะน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งในระดับตนเอง ครอบครัวและชุมชน เช่น การจัดทำบัญชีรับจ่ายครัวเรือน รู้จักการออม ลด ละ เลิกอบายมุข การสอนบุตรหลานให้ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงมีความเอื้ออาทร นำภูมิปัญญาและทรัพยากรชุมชนมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ การมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการมีอาชีพเสริม ความผาสุขของครอบครัวหลังจากนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ ทำให้ครัวเรือน / ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก
ขุมความรู้ (Knowledge Assets)
1.การค้นหาข้อมูล รวบรวมข้อมูล วางแผน เตรียมความพร้อมในการทำงาน ประสานงาน
ชี้แจงทำความเข้าใจกับทีมงาน เพื่อสร้างความเข้าใจและมองเป้าหมายเดียวกัน
2. การดำเนินงานมีความเชื่อมโยงและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในระดับแกนนำชุมชนและ
ประชาชนในหมู่บ้านก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
3. ติดตามผลการดำเนินงานทุกระยะ ถ้ามีข้อผิดพลาดจะได้ปรับปรุงแก้ไขได้ทันเหตุการณ์และทำให้ประสิทธิผลการทำงานบรรลุเป้าหมายได้ง่ายยิ่งขึ้น
4. การเผยแพร่ข่าวสารในทุกช่องทาง ทุกรูปแบบให้ถึงประชาชนในทุกพื้นที่ของจังหวัดให้มากที่สุด เพื่อให้ประชาชนรับรู้ เกิดความตื่นตัวที่จะน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในวิถีชีวิตของตนเอง
แก่นความรู้ (Core Competency)
1.การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
2. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รัฐ เอกชน องค์กรเครือข่าย
3. การติดตาม ประเมินผล
4. การประชาสัมพันธ์
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. การชี้แจงทำความเข้าใจ
2. การประสานงาน สร้างความคุ้นเคยกับทุกภาคส่วน
3. การรายงานผลให้ผู้บังคับบัญชารับทราบเป็นระยะ
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอบางเสาธง
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางเสาธง
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก 084-7593600
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ ความไม่ชัดเจนในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและการนำไปใช้ในวิถีชีวิต
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2550
สถานที่เกิดเหตุการณ์ จังหวัดสมุทรปราการ
ในปี 2550 เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ประกอบกับรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดนโยบายขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นรากฐานการดำรงชีวิตของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนและระดับประเทศมุ่งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การนำความรู้ไปขยายผลในพื้นที่ให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับมุ่งส่งเสริมการสร้างสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้น่าอยู่ประชาชนมีวิถีชีวิตอย่างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข
จังหวัดสมุทรปราการดำเนินการคัดเลือกหมู่บ้านเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 80 หมู่บ้าน จาก 5 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ โดยกำหนดการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 กิจกรรม คือ 1) การประชุมชี้แจงการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตและการจัดการหมู่บ้านสะอาดน่าอยู่ให้กับแกนนำชุมชน สมาชิก อบต. กำนัน , ผู้ใหญ่บ้าน , ผู้นำ อช. , อช. , องค์กรสตรี , ประธานกลุ่มอาชีพ OTOP ฯลฯ 2) จัดมหกรรมอาชีพ แก้จน จำนวน 30 อาชีพ ให้กับครัวเรือนยากจนในหมู่บ้านเป้าหมาย 3) สนับสนุนกิจกรรมทางเลือกด้านอาชีพแก่ครัวเรือนยากจนในหมู่บ้านเป้าหมาย 4) การคัดเลือก / มอบรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการและได้รับความร่วมมือจาก คณะวิทยากร ได้แก่ นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , นายอัครวัฒน์ อัศวเหม รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ , ดร. ธันวา จิตต์สงวน อนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง รองอธิการบดีฝ่ายโครงการพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ นายอเนก เพ็งสุพรรณ ปราชญ์ชาวบ้านจากอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการบรรยายเรื่อง “การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ” การดำเนินงานของจังหวัดมีการติดตาม / ประเมินผลโดยมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและคณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้งในการติดตามผลรายอำเภอใช้เกณฑ์ตัวชี้วัดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 6X2 ของกรมการพัฒนาชุมชนเป็นเครื่องมือหนึ่งในการวัดผลความก้าวหน้า ในด้านการประชาสัมพันธ์มีการออกสปอร์ตการให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงทางวิทยุชุมชน สื่อสารสิ่งพิมพ์ภายในจังหวัด มีการจัดทำป้ายไวนิล แผ่นพับประชาสัมพันธ์ในทุกพื้นที่ ปัญหาที่ต้องแก้ไข
ขณะดำเนินการต้องให้ความระมัดระวัง อาทิ กิจกรรมการประชุมชี้แจงฯ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก
กระบวนการที่ใช้ คือ การบรรยาย / การอภิปรายบนเวทีในห้องประชุมใหญ่ ไม่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์วงจรปิด ทำให้คนที่นั่งด้านหลังไม่เห็นและได้ยินไม่ชัดเจน ปัญหานี้แก้ไขโดยการจัดทีมงานออกไปบรรยายเป็นรายอำเภอ การทำแผ่น CD-ROM เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแจก อีกกรณีหนึ่งที่ต้องให้ความระมัดระวังก็คือเรื่องระยะเวลาการดำเนินงานซึ่งมีเวลาจำกัดไม่สมดุลกับจำนวนกิจกรรมและการที่จะเห็นผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ทำให้ต้องขออนุมัติขยายระยะเวลาการดำเนินงานออกไปอีก 2 เดือนและมีกิจกรรมเสริมต่อเพื่อความต่อเนื่องให้เกิดการพัฒนาในระยะยาวในลักษณะ “สร้างเพื่อน สร้างเครือข่าย”
หลังจากการดำเนินงานเสร็จสิ้น ปรากฏว่า ประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายเกิดความตื่นตัวที่จะน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งในระดับตนเอง ครอบครัวและชุมชน เช่น การจัดทำบัญชีรับจ่ายครัวเรือน รู้จักการออม ลด ละ เลิกอบายมุข การสอนบุตรหลานให้ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงมีความเอื้ออาทร นำภูมิปัญญาและทรัพยากรชุมชนมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ การมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการมีอาชีพเสริม ความผาสุขของครอบครัวหลังจากนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ ทำให้ครัวเรือน / ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก
ขุมความรู้ (Knowledge Assets)
1.การค้นหาข้อมูล รวบรวมข้อมูล วางแผน เตรียมความพร้อมในการทำงาน ประสานงาน
ชี้แจงทำความเข้าใจกับทีมงาน เพื่อสร้างความเข้าใจและมองเป้าหมายเดียวกัน
2. การดำเนินงานมีความเชื่อมโยงและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในระดับแกนนำชุมชนและ
ประชาชนในหมู่บ้านก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
3. ติดตามผลการดำเนินงานทุกระยะ ถ้ามีข้อผิดพลาดจะได้ปรับปรุงแก้ไขได้ทันเหตุการณ์และทำให้ประสิทธิผลการทำงานบรรลุเป้าหมายได้ง่ายยิ่งขึ้น
4. การเผยแพร่ข่าวสารในทุกช่องทาง ทุกรูปแบบให้ถึงประชาชนในทุกพื้นที่ของจังหวัดให้มากที่สุด เพื่อให้ประชาชนรับรู้ เกิดความตื่นตัวที่จะน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในวิถีชีวิตของตนเอง
แก่นความรู้ (Core Competency)
1.การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
2. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รัฐ เอกชน องค์กรเครือข่าย
3. การติดตาม ประเมินผล
4. การประชาสัมพันธ์
กลยุทธ์ในการทำงาน
1. การชี้แจงทำความเข้าใจ
2. การประสานงาน สร้างความคุ้นเคยกับทุกภาคส่วน
3. การรายงานผลให้ผู้บังคับบัญชารับทราบเป็นระยะ
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น